ปฏิทิน

ทำความเข้าใจปฏิทินจันทรคติ-สุริยคติ เอาฤกษ์มงคล ดลบันดาลโชค

พูดถึงปฏิทินเเล้ว ภาพที่เเว๊บเข้ามาในหัวของหลาย ๆ คน คงให้ภาพที่เเตกต่างกันออกไป บางคนเป็นภาพตัวเลขเป็นสิบอัดอยู่ในตาราง บางคนเป็นภาพตัวหนังสือจีนทาบทับบนกระดาษขาวพร้อมตัวเลขอารบิกสักตัว หรือเเม้เเต่ภาพกากบาทตัวเลขบนโต๊ะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นภาพใดทุกคนล้วนมีวันที่วันเดียวกัน นั่นเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง ที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ภาคไหนหรือจังหวัดใดของประเทศไทยวันที่ของเราทุกคนคือวันเดียวกันและเหมือนกันนั่นเอง ทว่าจะมีสักกี่คนอธิบายหรือเข้าใจตัวเลขทั้งหมดที่อยู่หนึ่งของปฏิทิน วันนี้แอดเลยถือโอกาสพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับปฏิทินเเบบจันทรคติและสุริยคติ

ปฏิทินสุริยคติ คืออะไร

ปฏิทินสุริยคติ เป็นการนับวันโดยยึดการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นหลัก ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ใช้การนับเวลาแบบสุริยคติเป็นมาตรฐานในการนับเวลา ประเทศไทยเองได้เปลี่ยนจากใช้ปฏิทินจันทรคติไทยเดิมมาเป็นสุริยคติเมื่อ พ.ศ. 2431 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยปกติเเล้วปฏิทินไทยแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช นอกจากนี้ในหลายปฏินมักมีการแสดงวันพระ  วันข้างขึ้น  ข้างแรม  ปีจีน  และคริสต์ศักราชควบคู่กันไป  

ปฏิทินจันทรคติ คืออะไร

ปฏิทินจันทรคติ เป็นการนับวันตามการโคจรของดวงจันทร์ โดยอาศัยการดูปรากฎการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม สำหรับปฎิทินจันทรคติของไทยนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

ภาพจาก class candy

รูปแบบของปฏิทินจันทรคติไทย

  • ปฏิทินจันทรคติราชการหรือปฏิทินหลวง

เป็นรูปแบบปฏิทินที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ แต่ยังไม่มีการสรุปสูตรอย่างตายตัวหรือแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจนพระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย

  • ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา

รัชกาลที่ 4 เป็นผู้ประดิษฐ์ปฏิทินรูปแบบนี้ขึ้น ซึ่งมีสูตรคำนวณที่แน่ชัดและมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการ จึงได้นำมาใช้ในพระสงฆ์ไทยคณะธรรมยุตินิกาย

การนับช่วงเวลาของปฏิทินจันทรคติ

การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย นับตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ ดังนี้

  • คืนเดือนดับ จะสังเกตไม่เห็นดวงจันทร์
  • คืนเดือนเพ็ญ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงมากที่สุดในรอบเดือนจันทรคติ
  • คืนข้างขึ้น จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยว นิดเดียวแล้วค่อยๆ โตขึ้นในแต่ละวันจนเต็มดวง
  • คืนข้างแรม จะสังเกตเห็นดวงจันทร์ค่อย ๆ แหว่งเป็นรูปเสี้ยวเล็กลง ๆ จนในที่สุดดวงจันทร์ก็มืดทั้งดวง
โดยนับวันแรกของเดือนเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ และวันสุดท้ายของเดือนเป็นแรม 14 หรือ 15 ค่ำ
  • ปีนักษัตริย์ ในปฏิทินจันทรคติ มีการระบุปีนักษัตรไว้ด้วย โดยเริ่มนับจากปีชวดหรือปีหนูเป็นปีเเรก และปีสุดท้ายคือปีกุนหรือปีหมูนั่นเอง

การอ่านวันตามแบบปฏิทินจันทรคติ

การอ่านวันที่ตามแบบจันทรคตินั้น กำหนดให้สัญลักษณ์ ดังนี้

อ่านว่า วันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก
  • เลขด้านซ้ายมือเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง วันในหนึ่งสัปดาห์ (นับวันอาทิตย์เป็นวันที่ 1 ไปจนถึงวันเสาร์เป็นวันที่ 7 )
  • ตัวเลขด้านบน-ล่างเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง ข้างขึ้นเเละข้างแรม
  • ส่วนตัวเลขด้านขวามือเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หมายถึง เดือนในหนึ่งปี (เดือนอ้าย – เดือนสิบสอง )

ปฏิทินสุริยคติและจันทรคติต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างการอ่านปฏิทินทั้ง 2 แบบ

จากภาพปฏิทินด้านล่างแสดงทั้งแบบจันทรคติและสุริยคติ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นการอ่านแบบสุริยคตินั้น ตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ปีชวดแบบจันทรคติ บางท่านอาจสับสนว่าเหตุใดจึงไม่ใช่เดือน 8 เช่นเดียวกัน นั่นเป็นเพราะว่าแบบจันทรคติเริ่มนับวันแรกของเดือนตั้งเเต่เดือนก่อนหน้า ไม่ใช่นับวันขึ้น 1 ค่ำในวันที่ 1 ของเดือนกันยายนแต่อย่างใด ที่สำคัญหากสังเกตุจะเห็นว่าวันที่ 18 นั้นเป็นวันสุดท้ายของเดือนด้วย เพราะตามกฎเเล้ว เดือนคี่จะมีแค่วันเเรม 14 ค่ำเท่านั้น ในวันพรุงนี้เมื่อท่านทั้งหลายตื่นขึ้นมาก็จะเข้าเดือนสิบตามปฏิทินจันทรคตินั่นเอง

ภาพจาก myhora.com

ความสำคัญของปฏิทินทั้ง 2 แบบ

แน่นอนว่าขึ้นชื่อว่าปฏิทิน อย่างไรเสียก็มีประโยชน์ในการช่วยบอกวันเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ นัดหมายสำคัญให้กับเราทุกคน นั่นคือหน้าที่ของปฏิทินอยู่เเล้ว เเต่นอกจากในเรื่องของวันสำคัญเเล้วปฏิทินแบบจันทรคติก็ยังบอกเราได้ด้วยว่าวันใดเป็นวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา รวมถึงช่วนในการคำนวณวันตามหลักโหราศาสตร์ เพื่อหาวันมงคลในการจัดทำงานสำคัญ ๆ เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันเเต่งงาน เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ก็จะช่วยซัพพอร์ตให้งานออกมาได้อย่างราบรื่น

ปฏิทินวันธงชัย 2563

ตามปกติแล้วหากใครคิดจะจัดงานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรือแม้เเต่วันออกรถคันใหม่ ก็มักจะให้หมอบ้านหรืออาจารย์ผู้มีความรู้หาฤกษ์มงคลให้ โดยการคำนวณวันตามหลักโหราศาสตร์ เพื่อให้เป็นสิริมงคลต่อชีวิตและทรัพย์สิน

สรุป

สำหรับความรู้เรื่องปฏิทินจันทรคติและสุริยคตินั่น ทุกคนล่วนได้ร่ำเรียนกันมาตั้งเเต่สมัยประถมศึกษาแล้วด้วยซ้ำ โดยสามารถแบ่งการอ่านปฏิทินได้ 2 เเบบ คือ 1. การอ่านปฎิทินจันทรคติ เป็นการนับวันเวลาตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์ ต่อการหมุนรอบโลกใน 1 ปี จะนับวันตามข้างขึ้น-ข้างเเรม ส่วนปฏิทินที่เราใช้กันเป็นส่วนใหญ่นั้น เรียกว่า ปฏิทินสุริยคติ บอกวันในหนึ่งสัปดาห์คือจันทร์ถึงศุกร์ เดือนทั้ง 12 และปีต่าง ๆ นั่นเอง

Facebook
Twitter
Email
Pinterest
VK

Top ฮิตติดกระแส

มาใหม่วันนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ