ทุกวันนี้ประเทศไทยมีอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ไม่ว่าจะอุบัติเหตุระหว่างรถจักรยานตร์ด้วยกันเอง รถจักรยานยนต์กับรถยนต์ รถบรรทุกกับรถยนต์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็ล้วนมาจากคำว่า ประมาท เพียงคำเดียว ซึ่งก็มีทั้งความประมาทของตนเองและความประมาทของคนอื่น จนทำให้หลายคนต้องพบเจอกับความสูญเสีย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมี วิธีแก้เคล็ด รถโดนชนบ่อย จะได้อุ่นใจเวลาบับรถไปไหนมาไหนนั่นเอง
ก่อนที่ไปถึงขั้นตอนหรือวิธีแก้เคล็ด เพื่อช่วยเสริมดวงให้ดีขึ้น แและห่างไกลจากอุบัติเหตุ เราลองไปดูข้อปฏิบัติขั้นต้น หลังจากรถโดนชนกันก่อนก่อนดีกว่า
ข้อปฏิบัติเบื้องต้น เมื่อรู้ว่ารถโดนชน
หยุดรถทันที แล้วโทรเรียกประกันภัย
ทันที่ที่รู้ว่ารถของท่านโดนชนไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กหรือใหญ่ ให้หยุดรถและดับเครื่องทันที ตั้งสติ แล้วโทรเรียกโบรกเกอร์ประกันภัยให้เขามาเคลียร์กับคู่กรณีให้ กรณีที่โดนชนเวลากลางคืนแล้วเป็นผู้หญิงขับรถมาคนเดียว อย่าพึ่งลงจากรถทันที ให้ดูสถานการณ์ก่อน หรือใช้วิธีเปิดหน้าต่างแง้มคุยกับคู่กรณีก็ได้
ทบทวนเหตุการณ์ และบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน
ระหว่างที่กำลังรอประกันมาเคลียร์เรื่องให้ ก็ลองทบทวนเหตุกาณ์ตอนเกิดอุบัติเหตุดูว่ารถชนได้อย่างไร คู่กรณีขับรถแบบไหน และคุณขับรถแบบไหนในตอนนั้น เพื่อจะได้รู้ว่าสรุปใครผิดใครถูกกันแน่ แต่ถ้ารถคุณติดกล้องก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ไม่ต้องกลัวว่าอีกฝั่งหนึ่งจะให้การเท็จ เพราะเรามีหลักฐานแน่นหนา แต่ในกรณีที่ชนถ่าย กล้องติดรถอาจจะมองไม่เห็น เราก็ต้องลงไปถ่ายภาพ เพื่อเป็นหลักฐานอีกชั้นหนึ่ง
เมื่อเป็นอุบัติเหตุร้ายแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
กรณีที่เป็นอุบัติเหตุร้ายแรง มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเรา หรือฝ่ายคู่กรณี ให้เรียกตำรวจ และบอกกับประกันให้ช่วยประสานงานก่อน อย่าเพิ่งห่วงความถูกต้อง หรือพยายามหาว่าใครผิดใครถูก เพราะชีวิตสำคัญที่สุด และไม่ควรเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยเอง เพราะอาจทำให้สถานการณ์และอาการบาดเจ็บเลวร้ายลงกว่าเดิม
5 วิธีแก้เคล็ด รถโดนชนบ่อย
อย่างที่ Ruay เกริ่นไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า อุบัติเหตุส่วนมากก็เกิดจากความประมาททั้งนั้น ถ้าไม่ใช่ความประมาทของเรา ก็เป็นความประมาทของคู่กรณี ในกรณีที่เป็นความประมาทของคนอื่น แล้วเราดันซวยไปด้วยเนี่ย ก็รู้ไว้เลยว่าช่วงนั้นดวงตกหรือไม่ก็มีเคราะห์หนักชัวร์ ๆ แบบไม่ต้องสงสัย ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้เหตุการณ์รถโดนชนบ่อยเกิดขึ้นกับเราอีก ก็ต้องทำตามวิธีแก้เคล็ด 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ตอนเช้า ต่อเนื่องกัน 7 วัน
การตักบาตรพระสงฆ์ในตอนเช้า ถวายข้าวปลาอาหาร เครื่องดื่ม ดอกไม้ และอื่น ๆ ยามที่พระมาบิณฑบาตรหน้าบ้านนั้น จะทำให้เราได้มีโอกาสกรวดนี้น้ำ อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวน สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีเวรมีกรรมต่อกัน ให้เลิกอาฆาตแค้นต่อกันนั่นเอง
ไหว้พระ ทำสังฆทาน ขอน้ำมนต์มาปะพรม
หากใครตื่นเช้าตักบาตรไม่ทัน ก็สามารถนำอาหารไปถวายถวายที่วัดหรือถวายสังฆทาน แล้วให้พระท่านช่วยรดน้ำมนต์ เพื่อขจัดสิ่งเลวร้ายให้ออกจากตัวเรา และเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ให้ดียิ่งขึ้น ก่อนกลับก็อย่าลืมขอน้ำมนต์พระท่าน มาพรมให้ทั่วรถ เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์รถโดนชนบ่อยอีก
ทำบุญซื้อโลงศพบริจาค แก่ศพอนาถาไร้ญาติ
ว่ากันว่าการทำบุญโลงศพหรือการบริจาคโลงศพให้กับศพไร้ญาตินั้น เป็นการทำทานและการสะเดาะห์เคราะห์ครั้งยิ่งใหญ่ ใครที่ว่าถึงฆาต ดวงตกมาก ๆ การได้มาทำบุญถวายโลงศพ จะช่วยให้ชีวิตนั้นดีขึ้นได้ สำหรับสถานที่ทำบุญโลงศพก็มีแพร่หลายมาก ตามวัดวาอารามต่าง ๆ เป็นต้น
ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยสัตว์ชนิดอื่น ๆ
การได้ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นกลับคืนสู่ธรรมชาติ ก็คล้ายการต่อลมหายใจให้กับพวกมันได้มีโอกาสไปใช้ชีวิต ไปหาครอบครัว รวมถึงไปทำตามความฝัน ช่วยให้พวกมันไม่ต้องเจอกับความตายที่กำลังจะมาถึงและรอดพ้นจากความตายในที่สะดุด ควาตายที่ไม่ว่าใครก็ไม่ปรารถนาที่จะเจอ แม้สักวันนึงทุกคนก็ต้องเจอ ดังนั้นการได้ปล่อยสัตว์ก็เหมือนได้ช่วยชีวิตหรือต่ออายุของเราด้วยนั่นเอง
นั่งสมาธิ สวดมนต์บทคาถาชินบัญชร และบทอิติปิโส
หลายคนคงเคยได้ยินมาตั้งแต่เล็ก ยามที่ไปเรียนวิชาพระพุทธศาสนาหรือเข้าค่ายธรรมมะ พระครูจะบอกกับเราเสมอว่า เมื่อเราเจริญภาวนา นั่งสมาธิ ก็จะทำให้เราได้สติและเกิดปัญญา ปัญหาที่เคยหาทางแก้ไม่ได้ก็จะเจอในที่สุด ยิ่งถ้าได้สวดมนต์คาถาชินบัญชรที่เขาว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ช่วยคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตราย ก็จะยิ่งวิตชีของเรานั้นปลอดภัยมากขึ้น
วิธีสวดคาถาชินบัญชร
ตั้งนะโม 3 จบแล้วท่อง …
- พระคาถาชินบัญชรฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)
- พระคาถาชินบัญชรฉบับเต็ม
ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า ..
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภธะนัง อัตถิกาเย กายะ ญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท
- ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา. - ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา. - สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร. - หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก. - ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก. - เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว - กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร. - ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ. - เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา. - ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง - ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา - ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา. - อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร. - ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา. - อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือที่หลายคนรู้จักท่านในนาม “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง” ท่านเป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างมากในประเทศไทย อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปีวอก หรือปีลิง คือ 1 ในปีนักษัตรทั้ง 12 ซึ่งประกอบด้วย ปีชวด ปีฉลู ปีขาล ปีเถอะ ปีมะโรง ปีมะเส็ง ปีมะเมีย ปีมะแม ปีวอก ปีระกา ปีจอ และปีกุล
ถือศีล 8 อย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 7 วัน ต่อเนื่องกัน
ศีล 8 หมายถึง ข้อปฏิบัติ 8 ข้อ อันเป็นเครื่องควบคุมตนให้สำรวมระวังในกาย และวาจา เพื่อให้ตนสามารถตั้งอยู่ในหลักประพฤติแห่งความดีได้ ประกอบด้วยศีล 8 ข้อ ได้แก่
- 1. ไม่คร่าชีวิตสัตว์หรือมนุษย์
- 2. ไม่ขโมยทรัพย์สินผู้อื่น
- 3. ไม่ล่วงในทางเพศต่อสามีหรือภรรยาผู้อื่น รวมถึงชายหญิงต้องห้าม
- 4. ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นจริง หรือ คำโกหก
- 5. ไม่ดื่มน้ำเมาหรือสารที่ทำให้เมาหรือเสพติด
- 6. ไม่บริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในอีกวัน)
- 7. ไม่ฟ้อนรำทำเพลง แสดงกิริยารื่นเริง รวมถึงละเว้นจากการแต่งสวยแต่งงามให้ร่างกาย
- 8. ไม่นั่งหรือนอนบนที่นั่งหรือที่นอนที่ทำให้นุ่ม และสูงจากพื้น
ขอบคุณรูปภาพจาก pinterest
สรุปส่งท้าย
อุบัติเหตุ รถโดนชนบ่อย นั้นเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา การใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและอยู่บนความไม่ประมาทนั้น จึงสำคัญและจำเป็นมาก ๆ แต่ถ้าหากคราวใดที่ชีวิตของคนเรานั้นมีเคราะห์หรือราหูเข้า ดวงตก สติและความระมัดระวังที่คิดว่ามีแล้วก็อาจจะยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่งขึ้น ด้วยการทำบุญทำทาน สะเดาะห์เคราะห์ และเจริญจิตภาวนา ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายช่วยคุ้มครอง
บทความที่เกี่ยวข้อง