Happy April Fool Day สวัสดีวันเมษาหน้าโง่ วันแห่งการโกหกหลอกลวง ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปีค่ะ เชื่อว่าหลายคนคงเฝ้ารอการเล่นมุกตลก เล่าเรื่องโกหก อำคนนั้นนี้อย่างใจจดใจจ่อ ก็วันนี้เป็นวันโกหกโลกนี่เนาะ!! ห้ามถือโทษโกรธเคืองกันหากมันไม่ใช่เรื่องจริง แล้วถ้าสมมติว่าวันนี้ไม่ใช่ 1 เมษาล่ะ เราจะถือว่าการ โกหก ถือเป็นบาปไหม และมีวิธีแก้เคล็ดแก้เคราะห์กรรมอย่างไร วันนี้ Ruay จะพาทุกท่านไปดูกัน
การโกหก คืออะไร
ก่อนอื่นเราไปดูนิยามของคำว่า “โกหก” กันก่อน ว่ามีความหมายอย่างไร ตามพจนานุกรมไทย ได้บัญญัติไว้ว่า “โกหก” เป็นคำกริยา หมายถึง พูดไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ ซึ่งการโกหกนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
- การโกหกทั้งหมด (lies of commission) หมายถึง การพูดในสิ่งที่ไม่ใช่ความจริง เช่น โกหกพ่อแม่ว่าไปทำงาน เพื่อไปหาแฟน
- การโกหกด้วยการละเว้น (lies of omission) หมายถึง การพูดความจริงเพียงครึ่งเดียวหรือพูดความจริงไม่หมด (half-truth) เช่น ไปติดต่อซื้อบ้านมือ 2 ราคาหลักล้านต้น ๆ นายหน้าบอกกับคนซื้อว่าเจ้าของเก่าพึ่งซื้ออยู่ได้แค่ปีเดียวเอง คุ้มมาก ไม่ต้องตกแต่งต่อเติมอะไรเลย แต่ไม่ได้บอกว่าที่เจ้าของเก่าขายทิ้ง เพราะทนเรื่องสยองขวัญไม่ไหว
- การโกหก เพราะสถานการณ์บังคบ (lies of influence) หมายถึง การพูดในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับความจริง เช่น ตอบไม่ตรงคำถาม
ดังนั้นเราจึงสุปได้ว่า… การพูดโกหก หมายถึง การพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง พูดความจริงบางส่วน หรือพูดเลี่ยงประเด็น นอกเรื่อง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด โดยมีเจตนาที่แตกต่างกันออกไป
ทำไมคนเราต้อง โกหก
การที่คนเราต้องโกหก พูดความจริงไม่หมด หรือตอบไม่ตรงคำถามนั้นก็มีหลายสาเหตุ และไม่ได้มีเพียงการโกหกด้วยเจตนาร้ายเท่านั้น แต่ยังมีการโกหกด้วยเจตนาดี หรือการโกหกสีขาว (white lies) ซึ่งหมายถึง การโกหก เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้สึกแย่หากรู้ความจริงนั่นเอง อย่างไรก็ตามเราสามารถแยกเจตนาของการโกหกออกมาเป็นหลากหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
- โกหกเพื่อกลบเกลื่อนความผิด คล้าย ๆ กับการทำผิดแล้วไม่กล้ายอมรับความจริง อ้างนู่นนี่นั่นไปเรื่อย แม้กระทั่งโยนความผิดให้คนอื่นก็มี
- โกหกเพื่อรักษาน้ำใจหรือไม่ให้อีกฝ่ายต้องรู้สึกแย่ เช่น การที่แพทย์โกหกผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายว่าเขาเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา เพื่อไม่ให้มีอะไรมากระทบจิตใจ
- โกหกเพื่อหาผลประโยชน์ อย่างการปลอมแปลงเอกสารบางอย่าง เพื่อให้ตนเองได้ผลประโยชน์
- โกหกเพื่อเอาตัวรอด เช่น การโกหกอาจารย์ว่าลืมเอาสมุดการบ้านมาส่ง ทั้งที่จริง ๆ แล้วยังไม่ได้ทำเลย เพื่ออาจารย์จะได้ขยายเวลาส่งให้ถึงพรุ่งนี้
- โกหกเพื่อความสนุกอยากล้อเล่น เช่น บอกเพื่อนว่าหมามันตาย ใน วัน April Fool Day เพื่อนเสียใจร้องไห้ ทั้งที่ไม่ใช่ความจริง อยากบอกว่าไม่แนะนำ ให้ล้ออะไรที่ไม่ Sensitive
- โกหกให้ตัวเองดูดี เพื่อให้ตนเองมีที่ยืนในสังคมหรือเข้ากับเพื่อนได้
โกหก บาปไหม โกหกตกนรก จริงหรือเปล่า
พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (พรมหาวีรพล) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ท่านกล่าวไว้ว่า… การโกหกจะบาปมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับเจตนาและความร้ายแรงของการโกหกนั้นว่าทำให้ผู้อื่นเสียหายมากไหม ถ้าไม่ได้ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการโกหกของเรา เป็นเพียงการแกล้งพูดเพื่อความสนุกสนานเฉยก็ถือเป็นเพียงมุสาวาท ไม่นำไปสู่อบายภูมิ
อย่างไรก็ตาม ถ้าการโกหกนั้นมีองค์ประกอบอย่าง 4 อย่างต่อไปนี้ เราจะถือว่าเป็นบาปอย่างแน่นอน
- เจตนาในการโกหกหลอกลวง หรือความเพียรพยายามในการโกหก มากแค่ไหน
- ความเสียหายของผู้ถูกหลอกหรือผู้ที่เราโกหก เช่น สูญเสียทางกาย ทรัพย์สิน เงินทอง ขนาดไหน
- บุคคลที่เราโกหกมีบุญคุณมากแค่ไหน เช่น พ่อแม่ หรือใครก็ตามที่มีบุญคุณมาก ก็บาปมาก
- คุณธรรมของผู้ที่เราโกหก มีศีลธรรมมากแค่ไหน เช่น โกหกหลอกลวงคนหากินสุจริต คนมีคุณธรรมสูง บาปมากกว่าพวกสิบแปดมงกุฎ หรือโกหกพระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิ์ย่อมบาปหนักกว่าโกหกคนทั่วไป
“การโกหกไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม หากครบเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อข้างต้น แล้วอีกฝ่ายเสียประโยชน์ มีความทุกข์ใจ เดือดร้อนแม้เพียงน้อยนิดก็เชื่อว่าทำให้ศีลมัวหมอง ถ้าคนที่เราโกหกมีศีลธรรมดีงาม หรือมีคุณต่อเราบาปมากแน่นอน”
ผลกรรมของการโกหก
จากพุทธวจนะที่ว่า….. “ผู้กล่าวคำเท็จอยู่ จะไม่ทำความผิดอื่น เป็นไม่มี” โทษของการละเมิดศีลข้อที่ 4 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาท (พูดปดหลอกลวง) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ วิบากคือเศษกรรม ของการพูดปดหลอกลวง อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ
จากคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจึงสามารถสรุปผลกรรมของการพูดโกหก หลอกลวงได้ว่า… การพูดโกหก หลอกลวง โป้ปดบ่อย ๆ จะทำให้บุคคลนั้น ขาดความน่าเชื่อถือ แม้จะพูดความจริงผู้อื่นก็ยังรู้สึกเคลือบแคลงใจ ไม่อยากเชื่อ เพราะที่ผ่านมาพูดอะไรชอบโกหก ปลิ้นปล้อน มากกว่านั้นจากที่เคยโกหกคนอื่นไปเรื่อย ก็จะกลายเป็นคนที่โกหกแม้กระทั่งตัวเอง เห็นไม่ดี เป็นดี เห็นผิดเป็นถูก และองว่าการโกหกไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงอะไร ติดเป็นนิสัย ชีวิตมืดมน
นอกจากนี้ในทางพระพุทธศานาเขายังเชื่ออีกว่าผู้ที่ชาติที่แล้วเป็นคนชอบโกหก พูดเท็จ หาความจริงไม่ได้ เกิดมาชาตินี้ปากแหว่งเพดานโหว่ มีกลื่นปาก เกิดโรคในปากและฟัน ปากและฟันผิดปรกติ เป็นใบ้หูหนวก พูดไม่ชัด ไม่มีใครให้ความเคารพเชื่อถือ ถูกตำหนิติเตียนและพบสิ่งที่ไม่ดีอยู่เสมอ การเจรจาตกลงกับใครมักถูกเลื่อนหรือไม่สำเร็จ ได้รับความรู้หรือความเชื่อแบบผิดๆ ถูกโกหกปิดบังหลอกลวง
มีวิธีแก้กรรม จากการโกหกอย่างไรบ้าง
วิธีแก้กรรมโกหกง่าย ๆ เริ่มได้ด้วยการยึดหลักคิดดี พูดดี ทำดี ในการดำเนินชีวิต ทำอย่างสม่ำเสมอ ความศรัทธาบริสุทธ์ใจ และไม่หวังสิ่งตอบแทน ลำดับถัดมาก็คือให้หลีกเลี่ยงการทำความชั่วสิ่งร้ายสิ่งผิดทุกอย่างทุกประการ และสุดท้ายคือ ทำจิตใจให้ผ่องใส
คิดแต่ในสิ่งที่ดี มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท พิจารณาด้วยสัจธรรมความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งล้วนมีเกิดขึ้น คงอยู่ชั่วคราว แล้วสิ้นสุดไป มีแต่ความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน สำนึกได้ในความผิดพลาดแล้วรู้จักปรับปรุงแก้ไข ดังหลักคำสอน “โอวาทปาฏิโมกข์” คือหลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานใน วันมาฆบูชา นั่นเอง
สรุปส่งท้าย
ไม่ว่าการโกหกนั้นจะไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่ในฐานะคนที่ถูกกระทำคงรู้สึกแย่ หากได้มารับรู้ความจริงในภายหลัง ยิ่งเป็นการการโกหก เพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตน กลบเกลื่อนความผิด และเพื่อล้อเล่นด้วยแล้ว ก็ยากที่จะให้อภัย แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเราจะโกหกไม่ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ คิดให้ดีเสียก่น ก่อนที่จะโกหกอะไรใคร เพราะบางทีผลลัพธ์มันอาจจะแย่กว่าการพูดความจริงก็ได้
สุดท้ายนี้สายมูเตลูคนไหนไม่อยากพลาดข่าวสาร ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง แนวทางหวยรัฐบาล หวยฮานอย หวยลาว เคล็ดลับเสริมดวง ทำนายฝัน ก็สามารถเข้ามาติดตามได้ที่ ตรวจหวย และ เพจรวยดี
บทความที่เกี่ยวข้อง