วันเหมายัน กลางคืนยาวนานสุดในรอบปี วันดีๆ ที่มีโชคลาภซ่อนอยู่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย วันที่ 21 ธันวาคม 2563 นี้ เป็น วันเหมายัน หรือ วันที่ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด และ เวลากลางคืนยาวนานที่สุด ในรอบปี หรือคนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว โดยมีช่วงเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาทีเท่านั้น หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับปรากฏการณ์นี้เหมือนกับ สุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา ซึ่งวันเหมายันนี้ จะเกิดขึ้นทุกวันที่ 21 หรือวันที่ 22 ของเดือนธันวาคมในทุกปี หากใครอยากรู้ลึกมากกว่านี้ Ruay 365 มีคำตอบค่ะ

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

วันเหมายันคืออะไร?

วันเหมายัน หรือ ตะวันอ้อมข้าว เป็นวันที่เวลากลางคืนจะยาวนานกว่าเวลากลางวัน เกิดขึ้นทุกๆ วันที่ 21 – 22 ธันวาคมของทุกปี เป็นปรากฏการณ์ที่พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มากที่สุด โดยพระอาทิตย์จะอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือ จึงทำให้ประเทศในแถบขั้วโลกเหนือบางส่วนมองไม่เห็นพระอาทิตย์ แต่ในทางกลับกัน พระอาทิตย์จะเอียงเข้าหาขั้วโลกใต้ ทำให้ประเทศในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ได้รับแสงอาทิตย์มาก ส่งผลให้อากาศร้อนกว่าปกติ

วันเหมายัน

ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้มีช่วงกลางคืนที่ยาวนานกว่าช่วงกลางวัน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” สำหรับทางซีกโลกเหนือจะเรียกว่า วันเหมายันหรือWinter solstice รวมไปถึงคนไทยส่วนใหญ่เช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยจัดอยู่ในซีกโลกเหนือ ในขณะที่ทางซีกโลกใต้ จะเรียกวันนี้ว่า วันครีษมายัน หรือ Summer solstice ทั้งนี้ วันเหมายัน อ่านว่า เห-มา-ยัน มีอีกชื่อหนึ่งคือ วันทักษิณายัน เป็นการที่พระอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (Solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในวันที่ 22 ธันวาคมในทุกปี

วันเหมายัน

ความเชื่อRuay 365 บอกต่อ ความเชื่อเกี่ยวกับวันเหมายันจากคนทั่วมุมโลกเกี่ยวกับวันเหมายัน

ความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับวันเหมายัน

คนมักจะเรียก วันเหมายัน ว่า ตะวันอ้อมข้าว มีความหมายต่อคนไทยในเรื่องของการเกษตร เนื่องจากมีความเชื่อว่า ช่วงเวลาการเกิดตะวันอ้อมข้าว เป็นช่วงที่พระแม่โพสพกำลังตั้งท้อง หรือ ช่วงเวลาที่ข้าวกำลังตั้งท้องพอดี พระอาทิตย์จึงทำความเคารพพระแม่โพสพ ด้วยการไม่เดินข้ามศีรษะของพระแม่โพสพ แต่เปลี่ยนเป็นอ้อมไปทางทิศใต้แทน เป็นสัญญาณให้เกษตรกรเตรียมตัวเข้าสู่ฤดูหนาวและช่วงเวลาเก็บเกี่ยว

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

นอกจากนี้ ตะวันอ้อมข้าว ยังมีผลต่อการเกษตร ที่ยังคงใช้วิธีการแบบธรรมชาติในการเพาะปลูกในปัจจุบัน เมื่อเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เกษตรกรก็ควรวางแผนในการเพาะปลูกพืชผัก เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการแสงมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งในช่วงตะวันอ้อมข้าว แดดจะแรงและอากาศจะแห้งเป็นพิเศษ ทำให้พืชที่ต้องการความชื้น อาจแห้งตายจากการขาดน้ำและเหี่ยวเฉาได้ แต่หากวางแผนการเพาะปลูกได้ดี จะทำให้ปลูกได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรที่แปลงผักอยู่ทางทิศใต้จึงจะได้เปรียบมากกว่า

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก ตาพฤทธิ์หนีเที่ยว

ความเชื่อของคนอินเดีย

ตามความเชื่อของชาวอินเดียนั้น ฤดูหนาว เป็นฤดูของ “ปรโลก” ซึ่งไม่เป็นมงคล เป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนาน ดังนั้น จึงไม่มีการเฉลิมฉลองใดๆ แต่เมื่อพระอาทิตย์เริ่มย้ายขึ้นเหนือ เข้าสู่ราศีมังกร เรียกว่า “มกรสงกรานติ” จะถือเป็นมงคล เพราะพระอาทิตย์ได้พ้นจากจุดต่ำสุดมาแล้ว

หลังจากช่วงนี้ไป เมื่อเข้าสู่ราศีมังกร ชาวฮินดู จะทำความสะอาดบ้านและห้องครัว มีการเล่นว่าวเฉลิมฉลอง ส่วนเกษตรกร จะเก็บเกี่ยว เพราะข้าวสุกพอดี โดยจะเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นราวปลายเดือนมีนาคม

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก modular kitchens

ความเชื่อของคนจีน

สำหรับคนจีนแล้ว วันเหมายัน เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เป็นมงคล ในอดีต คนจีนให้ความสำคัญเหมือนกับเทศกาลสิ้นปี เรียกว่า เทศกาลตังโจ่ย มีการกินขนมที่ทำจากปากและน้ำเชื่อม หน้าตาคล้ายบัวลอยเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก Voice of an Ex-Worker

วันอื่นๆ ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์บนระนาบสุริยวิถี

 1. วันวสันตวิษุวัต อ่านว่า วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ- วัด ชื่อภาษาอังกฤษคือ Vernal Equinox เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง

2. วันครีษมายัน อ่านว่า ครี-สะ- มา-ยัน ชื่อภาษาอังกฤษคือ Summer Solstice เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว

3. วันศารทวิษุวัต อ่านว่า สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด ชื่อภาษาอังกฤษคือ Autumnal Equinox เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็นวันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ

4. วันเหมายันอ่านว่า เห-มา-ยัน ชื่อภาษาอังกฤษคือ Winter Solstice เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่าตะวันอ้อมข้าว สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

วันเหมายัน
ขอบคุณภาพจาก แอบอร่อย ศูนย์รวมความรู้

สรุป

วันเหมายัน ถือเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์จากธรรมชาติ เราอาจจะสงสัยกันว่า เอ๊ะ? ทำไมวันนี้มืดเร็วจัง เพิ่งบ่ายๆ อยู่เลย ฝนก็ไม่ตก อากาศก็ไม่ได้หนาว นั่นก็เพราะว่าวันนี้เป็นวันเหมายันยังไงล่ะค่ะ นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรอีกด้วย เพราะเกษตรกรจะได้ทำการเตรียมตัวสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว นี่ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำหรับการเข้าหน้านาวของคนไทยเราด้วย

หากอยากได้สูตร หรือ ติดตามผลหวยย้อนหลัง หรือว่าจะเป็นบทความดีๆ เกี่ยวกับเลขเด็ด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้ง หวยไทย หวยรัฐบาล หวยฮานอย หวยลาว ก็อย่าลืมเข้ามาที่เว็บ Ruaylotto หรือ Ruay 365 ของเราได้ มาเจอกันกับพวกเรา แหล่งรวบรวมเลขเด็ด หวยซอง สำนักหวยดัง ได้ในทุกวัน ขอให้ทุกท่านถูกรางวัลกันเยอะๆ นะคะ

Facebook
Twitter
Email
Pinterest
VK

Top ฮิตติดกระแส

มาใหม่วันนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ